วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำฝนหลวง

การทำฝนหลวงทำให้เกษตรกรมีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตร และเป็นหนึ่งในโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุ ยเดชฯ ที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระองค์ ทราบไหมว่าขั้นตอนในการทำฝนหลวงนั้นมี ขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง

คุณทวี กาญจณา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ 5 อธิบายว่า การทำฝนหลวงนั้นดูเหมือนจะง่าย และเกษตรกรก็มีความมุ่งหวังว่าพอมาขอฝนหลวงแล้วก็จะต้องมีฝนตก แต่ในการทำฝนหลวงนั้นกว่าจะทำให้ฝนตกลงมาได้เจ้าหน้าที่ต้องทำงานกันอย่าง หนัก เจ้าหน้าที่จะต้องแบ่งงานและเตรียมงานตั้งแต่เช้าโดยจะเริ่มงานเวลาประมาณ 6.30 น. เจ้าหน้าที่จะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อจะปล่อยอุปกรณ์ติดกับบอลลูนไปในอากาศ เมื่อถึงเวลาประมาณ 7.30 น. เจ้าหน้าที่จะทำการเก็บข้อมูล หลังจากที่ได้ข้อมูลของสถาพอากาศแล้ว จากนั้นเวลาประมาณ 9.00 น. เจ้าหน้าที่ทุกคนจะมารวมกันที่สำนักงาน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักบิน ช่างเครื่องบิน หัวหน้าทีมในการเตรียมสารหรือโปรยสาร เพื่อวิเคราะห์สภาพอากาศว่า วันนี้อากาศเหมาะสมในการที่จะขึ้นไปทำฝนหลวงหรือไม่ เครื่องบิน ยานพาหนะและสารทำฝนหลวงอยู่ในสภาพพร้อมหรือไม่

หลังจากนั้นก็จะปฏิบัตการทำฝนหลวงตามขั้นตอน สำหรับขั้นตอนการทำฝนนั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอนกับอีก 3 เทคนิค ขั้นตอนที่ 1 จะเป็นการก่อเมฆ ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงเมฆให้อ้วน และขั้นตอนที่ 3 ตีเมฆให้ตกเป็นฝนและอีก 3 เทคนิคพระราชทานก็คือ เทคนิคที่ 1 การเพิ่มผลผลิตด้วยการใช้น้ำแข็งแห้ง เทคนิคที่ 2 แซนด์วิช และ เทคนิคที่ 3 เทคนิคซุปเปอร์แซนด์วิช การทำฝนหลวงเป็นการดัดแปลงสภาพอากาศที่ต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก สำหรับระยะเวลาการตกของฝนหลวง หลังจากที่ได้ลงมือปฏิบัติการแล้วก็ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นหรือสภาพเมฆของ แต่ละวัน วันไหนความชื้นเหมาะสม ก้อนเมฆมีขนาดใหญ่ และเม็ดน้ำมีขนาดใหญ๋ฝนก็ตกภายใน 1 ชั่วโมง

สาเหตุที่ทำฝนหลวงแล้วฝนไม่ตกก็มีหลายสาเหตุ เช่น ความชื้นสัมพัทธ์มีน้อยเกินไป สภาพอากาศไม่ค่อยเหมาะสม เป็นต้น เมื่อทำฝนหลวงสำเร็จ คนที่ทำก็ดีใจ เพราะทำให้พื่นที่เกษตรกรรมของเกษตรกรรอดพ้นจากความเสียหายได้

TIPS เมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2548 สำนักสิทธิบัตรยุโรปได้ออก สิทธิบัตร เลขที่ 1491088 ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้ชื่อ 'Weather Modification by Royal Rainma Technology' หรือ 'สิทธิบัตรฝนหลวง'

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

+++ Hamster +++

+++ Playlist +++


MusicPlaylistRingtones
Create a playlist at MixPod.com

+++ coming soon +++