ในบรรดาโรคสมัยใหม่ ที่เข้าข่ายโรคที่ไม่ใช่โรค ที่นับวันจะทวีจำนวนสูงขึ้น และคุกคามชีวิตของ "คนทำงาน" มากขึ้นทุกวัน "โรคที่เกิดจากการทำงาน" เป็น หนึ่งในบรรดาดาวเด่นเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน อุปกรณ์สำนักงาน หรือแม้แต่สารพิษต่างๆ ที่เกิดได้จากงานเฉพาะด้าน
น.พ.หทัย ชิตานนท์ ประธาน สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ให้ข้อมุลกรณีของผู้สูบบุหรี่ในอาคาร นอกจากจะล่องลอยอยู่ในอากาศแล้ว ยังเกาะติดกับผนัง ม่าน พรม และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ซึ่งจะค่อยๆ ระเหยออกมาในอากาศ
"ควันบุหรี่ในอาคารสำนักงาน ไม่ได้ให้ผลร้ายในทันที หากเมื่อวานนี้ในห้องนี้มีคนมานั่งสูบบุหรี่ และวันนี้คุณเดินเข้ามาในห้อง ก็ยังได้รับอันตรายจากพิษของบุหรี่เข้าไปด้วย เพราะสารพิษของบุหรี่ยังอยู่ได้นานถึง 48 ชั่วโมง ในกรณีที่เป็นห้องปรับอากาศ ที่ไม่มีการระบายอากาศที่ดีด้วยนะ"
นอกจากสารพิษ อย่างเช่นควันบุหรี่ในสภาพแวดล้อมแล้ว เรื่องของ อุปกรณ์สำนักงาน ก็เป็นแหล่งที่มาแห่งโรคอีกประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะอุปกรณ์สำนักงานที่มีประจำทุกแห่งในทุกสำนักงาน อย่าง"คอมพิวเตอร์" จากผลการศึกษาของนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มในสวีเดน ระบุว่าตัวการที่เกิดอาการภูมิแพ้ คือสารประกอบทางเคมีที่มีชื่อว่า "triphenyl phophate" ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกัน สารตัวนี้ก็ทำให้เกิดปฏิกริยาของโรคภูมิแพ้ อาทิ คัน คัดจมูกและปวดศรีษะ
คอมพิวเตอร์ จึงอาจเป็นต้นเหตุสำคัญที่แพร่กระจายสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะสถานที่ทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด ดังนั้นการระบายอากาศที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ผลการวิจัยพบว่า มีเครื่องคอมพิวเตอร์ถึง 10 ยี่ห้อ ใน 18 ยี่ห้อ ที่ทำการทดสอบ มีระดับของสารเคมีที่ว่านี้ สูงมาก
ต้นตอของโรคจากที่ทำงานที่สำคัญ ที่ปัจจัยหนึ่ง มากจาก "ตึก" หรืออาคารสำนักงานนั่นเอง องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ร้อยละ 30 อาการหรือตึกที่สร้างขึ้นใหม่ จะมีปัญหาคุณภาพของอากาศภายในอาคาร อันเป็นที่มาของอาการตึกเป็นพิษ
โรคแพ้ตึกหรือตึกเป็นพิษ มีสาเหตุใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ การระบายอากาศในตึกหรืออาคารไม่ดี ประเด็นต่อมาคือ ตึกหรืออาคารมีการใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งจากวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของสารพิษต่างๆ สุดท้าย เกิดจากก๊าซพิษที่ปล่อยออกจากตัวมนุษย์กว่า 100 ชนิด เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจน ฯลฯ
ปัจจุบันการออกแบบตึก พยายามที่จะลดการนำอากาศจากภายนอกเข้ามาในตัวอาคาร เพื่อประหยัดพลังงานในการทำความเย็น เมื่อระบบระบายอากาศไม่ดี มลพิษต่างๆ ในอากาศจะหมุนเวียนอยู่ภายใน นำพิษภัยมาสุ่สุขภาพของผุ้ที่อยู่ภายในอาคารสำนักงาน นอกจากนี้ การตกแต่งอาคารสำนักงานและบ้านเรือน ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากไม้อัดและกระดานไฟเบอร์เข้าแทนที่ไม้ธรรมชาติ การใช้พรมสังเคราะห์ปุพื้น ซึ่งมีส่วนผสมของกาวหรือเรซิน เพื่อการยึดเกาะที่คงทนถาวร ก็ล้วนปล่อยสารพิษออกสู่อากาศ โดยที่พนักงานที่พนักงานที่ทำงานกันอยู่ในอาคาร ไม่มีโอกาสรู้ตัวเลย
โรคที่น่าสนใจอย่างมากโรคหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคจากการทำงาน คือโรค ลิเจียนแนร์ (Legionnaires' disease) เป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย "ลิจิโอเนลลา นิวโมฟิลา" จะอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำขังนิ่ง อุณหภูมิระหว่าง 20-40 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 5.0-8.5 มีคลอรีนตกค้าง ต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร แหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อได้เป็นอย่างดี คือ หอหล่อเย็น ถังพักน้ำ อ่างน้ำพุ-น้ำวน หัวก๊อกฝักบัว เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องพ่นความชื้นหรือแอร์น้ำ แอร์ ถาดรองน้ำแอร์ ฯลฯ
อาการของผุ้ ที่ได้รับเชื้อ หากร่างกายอ่อนแออยู่แล้วก็จะเจ็บป่วย โดยจะมีความรุนแรงอยู่ 2 ลักษณะ คืออาการจะคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลักษณะนี้จะไม่รุนแรงนัก อีกลักษณะหนึ่งคือป่วยเป็นโรคลิเจียนแนร์ ซึ่งรุนแรงและอันตราย อาการจะคล้ายกับปอดบวมหรือปอดอักเสบ มีไข้สูง ไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก หนาวสั่น ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอ ติดเชื้อในปอด หากอาการรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติด เชื้อจนป่วยเป็นโรคลิเจียนแนร์ ได้แก่ ผุ้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผุ้ที่ดื่มเหล้าจัด ผุ้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไต หัวใจ ผุ้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออันเนื่องมาจากเป็นมะเร็ง หรือติดเชื้อเอชไอวี ผุ้ที่อยู่ระหว่างรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เบาหวาน มะเร็ง และการล้างไต
การปรับวิถีชีวิตใหม่ เป็นทางออกหนึ่งที่น่าจะช่วยผ่อนเบาปัญหาของโรคที่เกิดจากการทำงานลงได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด รวมทั้งปรับกายใจให้มีระบบภูมิต้านทานที่ดีขึ้น เป็นเกราะกั้นภัยด่านแรก ไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ ทะลวงเข้าไปถึงตัวได้
อย่างที่ดร.สาทิส อินทรกำแหง ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า "เรา ต้องหาทางแก้ไขด้วยตัวเราเอง หลีกเลี่ยงอากาศไม่ดี หาเวลาว่างในการพักผ่อนให้กับตัวเอง อย่าเครียดมาก เท่านี้เราก็จะเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีสุขภาพดี"
ที่มา นิตยสารชีวจิต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น