วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคซึมเศร้า เราเป็นอยู่หรือเปล่านะ ?



ลักษณะของคนที่ป่วย มักจะชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ย้ำคิดย้ำทำ เชื่องช้า ซึม เก็บตัว ชอบพูดเปรยว่าถ้าไม่มีเขาอะไรคงจะดี และพูดสั่งเสียอยู่เรื่อยๆ

ผู้ป่วยจะมีอาการหนักราว 2-3 เดือน ถือเป็นช่วงอันตรายที่สุด เพราะมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายสูงมา
หากมีเรื่องกระทบจิตใจเพียงนิดเดียว แต่ถ้าพ้นช่วงนี้ไปได้ก็จะกลับสู่ภาวะปกติซึ่งอาการของโรคจะกำเริบเมื่อไรไม่มีใครรู้ล่วงหน้า บางคน 1-2 ปี บางคนเพียง 6 เดือนแต่ถ้ารู้ว่าตัวเองป่วยก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการเข้าพบจิตแพทย์และกินยาตามแพทย์สั่ง

มีผู้ที่ฆ่าตัวตายมากถึงร้อยละ 60 ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โดยคนที่เป็นโรคนี้เมื่อประสบกับความผิดหวังหรือปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว ความรัก หรือการศึกษา ผู้ป่วยจะคิดฆ่าตัวตายได้ง่ายกว่าคนปกติ 3 เท่า

จากการสำรวจประชากรไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 5 หรือกว่า 3 ล้านคน ยังไม่รวมถึงคนที่ไม่รู้ตัวเองว่าป่วย และโรคนี้มีการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมจากพ่อแม่สู่ลูกอีกด้วย

เมื่อตรวจสมองจะพบความผิดปกติของสารเคมีชื่อ เซโรโทนิน มีปริมาณลดลง ทำให้รู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้ายบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบให้ความสามารถในการทำงานลดลง

การเลี้ยงดูก็มีส่วน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเอง มองตนเองและโลกในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอมรสุมชีวิต ทำให้มีโอกาสป่วยง่ายขึ้น

การช่วยเหลือด้านจิตใจเบื้องต้น เนื่องจากผู้ป่วยมักมีแนวคิดในแง่ลบมองว่าตนเองอาการหนัก เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ไม่มีใครเป็นแบบตน

แพทย์จะบอกว่า ปัญหานี้พบได้เยอะ การที่ผู้ป่วยมีแนวคิดในแง่ลบ สนใจร่างกายตนเองมากกว่าปกติทำให้ดูอาการมีมากขึ้น เมื่อโรคซึมเศร้าดีขึ้นอาการทางร่างกายเหล่านี้จะดีขึ้นตาม

ในปัจจุบันโรคนี้รักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน

ขอบคุณบทความจาก กรมส่งเสริมสุขภาพจิตร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

+++ Hamster +++

+++ Playlist +++


MusicPlaylistRingtones
Create a playlist at MixPod.com

+++ coming soon +++