วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

กินอย่างไร ? เมื่อเป็นโรคกระเพาะ



แต่ ก่อนนี้ถ้าใครเป็นโรคกระเพาะถือว่าโชคร้ายเพราะ เป็นแล้วรักษาหายยาก แต่เมื่อรู้สาเหตุที่แท้จริงแล้วโรคกระเพาะรักษาไม่ยาก และปัจจุบันโรคกระเพาะสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลา 2-4 สัปดาห์ด้วยยาปฎิชีวนะและยาลดกรดเป็นหลัก

สาเหตุของโรคกระเพาะ
ก่อนนี้ความเครียดกินอาหารผิดเวลาอยู่เป็นนิจและอาหารรสเผ็ดจัดจะถูกจัดเป็น สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะ แต่ปัจจุบันวงการแพทย์ปะจักษ์กันดีกว่าตัวสาเหตุที่แท้จริงคือเชื้อ แบคทีเรีย ที่มีลักษณะเหมือนเกลียวจุกคอร์ก ชื่อว่าเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร เรียกย่อๆว่าเอช.ไพโลไร (H.pylori)เป็นตัวที่ทำให้กระเพาะเป็นแผลอักเสบ

นอกจากเชื้อแบคทีเรียที่ว่ายังมีสาเหตุรองอื่นๆของโรคกระเพาะ คือการใช้ยาแก้ปวดประเภทแอสไพริน หรือยาประเภทสเตียรอยด์ซึ่งใช้รักษาโรคข้ออักเสบหรือยาประเภทต้านการอักเสบ เรียกย่อๆว่า "เอ็นเสดส์" (NSAIDS) = Nonsteroidal anti-imflamatory) การใช้ยานี้เสมอๆอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคกระเพาะในคนที่ติดเชื้อเอช.ไพโลไรได้ นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่จัดก็จะเพิ่มความเสี่ยงโรคกระเพาะ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่เพิ่มปริมาณกรดและความเข้มข้นของกรดในกระเพาะ และในคนที่เป็นโรคอยู่แล้ว แต่ไม่ยอมเลิกบุหรี่ก็จะทำให้การรักษาได้ผลน้อย




โภชนบำบัดสำหรับโรคกระเพาะ
สมัยก่อนเมื่อยังไม่ทราบสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารที่ใช้รักษาโรคกระเพาะคือ ซิปปี้ไดเอ็ท (Sippy diet) ซึ่งใช้นมและอาหารประเภทครีมเป็นหลัก ซึ่งแพทย์สมัยนั้นเชื่อว่าจะช่วยเคลือบแผลในกระเพาะหรือลำไส้ แต่ปัจจุบันพบว่าอาหารดังกล่าวกลับทำให้อาการโรคกระเพาะแย่ลง เนื่องจากแคลเซียมในนมกระตุ้นการหลั่งของกรดทำให้แผลในกระเพาะหายช้าเข้าไป อีก

ปัจจุบันอาหารไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะช่วยรักษาโรคกระเพาะ แต่จะใช้ยาเป็นหลักอาหารจะเป็นปัจจัยเสริมที่ใช้รักษาร่วมกับยาเพื่อลดอาการ

หลักโภชนบำบัดในปัจจุบัน คือ การกินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่อย่างสมดุล เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพื่อช่วยรักษาเนื้อเยื่อแผลในกระเพาะให้หายเร็วขึ้น และเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นการหลั่งของกรดมากเกินไป มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับนิสัยการบริโภคที่ผู้มีปัญหาโรคกระเพาะต้องปรับเปลี่ยนดังนี้

กินอาหารเป็นเวลา กินน้อยๆวันละ4 ถึง 5 มื้อ ไม่กินจุบจิบโดยเฉพาะก่อนนอน เพราะทุกครั้งที่อาหารตกถึงท้องจะ กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ
ปริมาณอาหาร ไม่กินอิ่มมากเกินไป มิฉะนั้นจะมีกรดหลั่งออกมามากเกินควร
เลี่ยงการดื่มนมบ่อยๆ นอก จากนี้ ผู้ที่มีปัญหาการย่อยน้ำตาลในนม (แลคโตส) อาจเกิดอาการท้องอืด มีแกส ปวดท้อง ท้องเสียได้เพราะระบบย่อยขาดเอ็นไซม์แลคเตสซึ่งใช้ย่อยน้ำตาลนม
ระวังการใช้เครื่องเทศรสเผ็ดจัด เช่น พริกต่างๆ กินเท่าที่ระบบย่อยของตัวเองจะรับได้โดยไม่เกิดอาการ ตัวคุณเองเท่านั้นที่จะบอกได้
กินอาหารที่มีกากใยสูง เช่นผัก ผลไม้ และธัญพืช โดยเฉพาะใยอาหารประเภทละลายน้ำ เช่น กล้วย มะละกอ แอปเปิล ซึ่งมีใยอาหารชนิดเพคตินมาก ช่วยป้องกันโรคกระเพาะและมะเร็งในกระเพาะอาหาร นักวิจัยพบว่าในกล้วยมีสารชนิดหนึ่งซึ่งช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลใน กระเพาะอาหารทำให้กระเพาะแข็งแรงขึ้น ทนต่อกรดได้ดี

กินผักใบเขียวจัดให้มากขึ้น เนื่องจากผักใบเขียวจัดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร มีข้อมูลรายงานว่าผู้ที่มีโรคกระเพาะมักพบการขาดวิตามินเค ผักสีเขียวจัดบางชนิดเช่นบร็อคโคลี มีสารซัลโฟราเฟน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อนๆ นักวิจัยพบว่าสารสะกัดซัลโฟราเฟน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อเอช.ไพโลไร และอาจป้องกันมะเร็งได้
ผักผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีนสูง เช่น แครอท ฟักทอง ผักใบเขียวจัด แคนตาลูป ช่วยป้องกันเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ เร่งให้แผลหายเร็วขึ้น การกินผักผลไม้ยังช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ซึ่งช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วและป้องกันการติดเชื้อ
เลี่ยงกาแฟ รวมทั้งชนิดไม่มีคาเฟอีน เนื่อง จากกาแฟกระตุ้นการหลั่งกรดและอาจทำ ให้อาหารไม่ย่อย ชาอาจจะพอรับได้สำหรับบางคนแต่ก็ยังมีส่วนกระตุ้นการหลั่งกรดอยู่ดี แม้จะน้อยกว่ากาแฟก็ตาม
เลี่ยงน้ำส้มน้ำมะนาว ถ้าทำให้ไม่สบายท้อง เนื่องจากกรดไหลย้อนกลับทางทำให้เกิดอาการแสบร้อนในลิ้นปี่
เลี่ยงอาหารทอด อาหารเค็มและน้ำอัดลม
เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัด ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการ ทำให้ไม่สบายท้องได้
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์และไวน์ เพราะจะทำให้กระเพาะหลั่งกรดได้มากขึ้น
งดบุหรี่
เคี้ยวช้าๆในเวลากินไม่เร่งรีบ
ควรสังเกตตัวเองว่าอาหารชนิดใดที่ก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อย เพราะการตอบสนองต่ออาหารในแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้แต่อาหารชนิดเดียวกันถ้ากินคนละเวลาร่างกายก็จะตอบสนองต่างกัน
หลีกเลี่ยงความเครียด ถึงแม้ความเครียดจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ แต่อาจเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้อาการโรคกระเพาะเลวร้ายลงไปอีกโดยทำให้หายช้า




ข้อควรระวัง ไม่ ควรใช้ยาลดกรดมากเกินควร เนื่องจากกรดในกระเพาะจะช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหารเช่นเพิ่มการดูดซึม ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิดามินบี 12 ลดการเจริญของเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะ แบคทีเรียในอาหารเมื่อตกถึงกระเพาะจะถูกกรดทำลาย จึงช่วยป้องกันแบคทีเรียที่ก่อสารเกิดมะเร็ง การใช้ยาลดกรดมากจึงไม่ดีต่อระบบย่อย

สรุป แล้ว หลักใหญ่ก็คือการมีโภชนาการดี กินอาหารให้หลากหลาย เป็นเวลาสม่ำเสมอ ไม่เร่งรีบในการกิน ระวังอาหารที่กระตุ้นการหลั่งกรดมากเกินควร อย่าทำตัวเป็นคนช่างเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินยาตามแพทย์สั่งโรคกระเพาะก็จะหายได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

+++ Hamster +++

+++ Playlist +++


MusicPlaylistRingtones
Create a playlist at MixPod.com

+++ coming soon +++