วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10 พฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุล




บางครั้งสิ่งต่างๆ ที่เราทำเป็นประจำทุกวันก็ทำร้ายโครงสร้างของร่างกายให้เสียมสมดุลโดยที่เรา ไม่รู้ตัว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมของคนทำงานแทบทั้งสิ้น เรามาดูกันค่ะว่าพฤติกรรมที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง แล้วลองตรวจเช็คดูนะคะว่าคุณทำในสิ่งเหล่านี้กี่ข้อ

1. ใส่รองเท้าส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง สาวๆที่นิยมใส่รองเท้าส้นสูงเกินกว่า 1 นิ้วครึ่งคงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่แล้วล่ะค่ะเพราะการสวมรองเท้า ส้นสูงๆ จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ทำให้โครงสร้างของร่างกายผิดปกติและทำให้มีอาการปวดหลังตามมา


2. นั่งไขว่ห้า นี่ก็เป็นอีกพฤติกรรมที่มีคนนิยมทำกันมาก แต่ทราบไหมคะว่าการนั่งไขว่ห้างเป็นการทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้าง หนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้กระดูกคดอย่างแน่นอนค่ะ


3. นั่งกอดอก
เวลาที่รู้สึกว่ามือไม้เกะกะ ไม่รู้จะจัดการอย่างไรดี การกอดอกไว้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งการกอดอกจะทำให้หลังช่วงบนสะบัก และ หัวไหล่ ถูกยืดออก หลังช่วงบนจะค่อมและงุ้มไปด้านหน้าทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า ซึ่งมีผลต่อเส้นประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงแขน จึงอาจทำให้มืออ่อนแรง หรือมีอาการชาได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองด้วย เพราะถ้ากระดูกคอผิดรูปไปก็จะทำให้กล้ามเนื้อคอเกร็ง การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจึงถูกจำกัด ซึ่งจะนำไปสู่อาการปวดศรีษะ หรืออาจทำให้เป็นไมเกรนเรื้อรังได้


4. นั่งเก้าอี้ไม่เต็มก้น
หลายคนคงจะเคยมีพฤติกรรมแบบนี้มาแล้ว การนั่งเก้าอี้ไม่เต็มก้นจะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้อทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ ในทางตรงข้าม ถ้านั่งเก้าอี้ให้เต็มก้นคือเลื่อนก้นให้เข้าไปถึงด้านในสุดจนติดพนักพิง จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานน้อยลง และเกิดการรองรับน้ำหนักตัวได้เต็มที่


5. นั่งหลังงอ
บางครั้งเราไม่ได้ตั้งใจที่นั่งหลังงอแต่พอนั่งไปนานๆ เราก็ค่อยๆ งอหลังลงโดยที่ไม่รู้ตัว การนั่งทำงานหลังงอหรือนั่งกลังค่อมเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลกติค ทำให้มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา


6. สะพายกระเป๋าหนักๆ ด้วยไหล่ข้างเดียว
มักจะเป็นกลุ่มคุณผู้หญิงเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีของจุกจิกใส่ไว้ในกระเป๋ามากมาย การสะพายกระเป๋าหนักๆ ด้วยไหล่ข้างเดียวนานๆ จะทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักเพียงซีกเดียว ซึ่งจะส่งผลให้กระดูกคดได้ ทางที่ดีควรสลับข้างกันสะพายบ้างหรือเปลี่ยนมาใช้วิธีถือแทนการสะพายพยายาม ทำให้ร่างกายทั้งสองซีกมีความสมดุล และถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรสะพายหรือหิ้วของหนักๆ นานๆ


7. หิ้วของหนักๆ ด้วยนิ้ว
โดยเฉพาะคนที่ชอบใช้เพียงบางนิ้วในการหิ้วของ การใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อยๆ จะทำให้เกิดพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ เพราะจริงๆ แล้วกล้ามเนื้อมือและนิ้วเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กมีหน้าที่หลักคือ ใช้หยิบ, จับของเบาๆ หากต้องใช้จับหรือหิ้วของหนักๆ จะทำให้เส้นเอ็นมีการเสียดสีและเกิดพังผืดขึ้นในที่สุด ถ้าหิ้วของหนักมากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ถูกรั้ง และเกี่ยวโยงไปถึงกระดูกคอ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งมากกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลต่อการทรุดของกระดูกและกดทับเส้นประสาทได้


8. ยืนหลังแอ่น และ ยืนหลังค่อม
จำทำให้แนวกระดูกช่วงล่างแอ่นและทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา การยืนที่ถูกต้องคือ ยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย รวมถึงขณะเดินและนั่งก็ให้แขม่วท้องเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง


9. ยืนพักขา
เป็นการยืนโดยทิ้งน้ำหนักตัวลงไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อขาข้างนั้นๆ ต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป และทำให้กระดูกเชิงกรานบิดเบี้ยว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้การยืนที่ถูกต้องคือต้องลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกายกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างจะไดรับ น้ำหนักเท่าๆ กัน


10. นอนขดตัว หรือ นอนตะแคง
จะทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวตรง ท่านอนที่ถูกต้องที่สุดคือ ท่านอนหงาย โดยให้หน้าขนานกับเพดาน ไม่หงายไปด้านหลัง หรือ งอมาด้านหน้ามากเกินไป หมอนหนุนศรีษะก็ต้องไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างมาก่าย โดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้างเพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

+++ Hamster +++

+++ Playlist +++


MusicPlaylistRingtones
Create a playlist at MixPod.com

+++ coming soon +++