เผยโฉม 10 หุ่นยนต์ไฮเทค ผู้ช่วยหน้าใหม่ สังคมมนุษย์
ภาพพจน์คำว่า "หุ่นยนต์" ไม่จำเป็นต้องหมายถึง "จักรกลอัจฉริยะ" ที่มีความสามารถประกอบรถยนต์ได้เป็นคันๆ ภายในเวลาไม่กี่นาที มีหน้าตา-อากัปกิริยาคล้านมนุษย์ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือบุกตะลุยไปสำรวจจักรวาล เพราะอีกกระแสธารที่มาแรงในแง่มุมการพัฒนาหุ่นยนต์ไฮเทค ณ ปัจจุบัน ยังหมายถึงหุ่นยนต์ที่สามารถทำหน้าที่เป็น "ผู้ช่วย" ในชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมโลกทั่วๆ ไป รวมถึงผู้พิการและคนชรา เฉกเช่นเดียวกับหุ่นยนต์ 10 รุ่นที่นำเสนอในวันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็น "สุดยอด" หุ่นยนต์-จักรกลในหมวดหมู่สาขาของตนเอง
1."หุ่นยนต์ริบะ" (Riba) นักอุ้มมือหนึ่ง
พัฒนาโดย : สถาบันกายภาพและเคมี ประเทศญี่ปุ่น
หน้าที่ : ช่วยอุ้ม หรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอเกินกว่าจะลุกนั่ง ยืน หรือเดิน ด้วยตัวเอง
ปีที่คาดว่า จะใช้งานจริง : พ.ศ.2554
แขนกลริบะ ติดตั้งมอเตอร์ทรงพลังและเซ็นเซอร์ 454 ตัว ช่วยให้หุ่นยนต์รุ่นนี้สามารถยกและเคลื่อนย้าย "ผู้ป่วย" ที่มีน้ำหนักตัวมากถึง 61 กิโลกรัม
โทชิฮารุ มุคาอิ ผู้คิดค้นริบะ วางเป้าหมายเพิ่งพละกำลังความแข็งแรงของระบิให้สูงขึ้นในปีหน้า เมื่อเริ่มต้นทดลองนำไปใช้งานตามเนิร์สซิ่งโฮม หรือสถานดูแลผู้สูงอายุทั่วประเทศญี่ปุ่น
พื้นผิวของริบะ ออกแบบไม่ให้ทำอันตรายต่อผิวหนังของผู้ป่วย เพราะใช้โฟมยูรีเทนห่อหุ้มโครงสร้างเหล็กเอาไว้
ริบะยังถูกตั้งโปรแกรมให้จดจดใบหน้าและ เสียงของผู้ป่วยได้ด้วย เพื่อให้สั่งงานได้สะดวกขึ้น เช่น ถ้าตั้งชุดคำสั่งเสียงเอาไว้ว่า "ริบะ อุ้มฉันไปที่โซฟา" มันก็จะเคลื่อนมาอุ้มผู้ป่วยจากเตียงไปยังโซฟา ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้
2."เพอร์เอ็มเอ็มเอ" (PerMMA) รถเข็นผสานแขนกล
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก สหรัฐอเมริกา
หน้าที่ : เป็นรถเข็นพยาบาล ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและป้อนอาหารผู้พิการ ซึ่งกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ
ปีที่คาดว่าจะใช้งานจริง : พ.ศ.2563
ภายหลังจาก รอรี่ เอ. คูเปอร์ ประสบอุบัติเหตุ ต้องกลายเป็นอัมพาต อวัยวะท่อนล่างใช้การไม่ได้ ก็ค้นพบความจริงเช่นเดียวกับมนุษย์ล้อคนอื่นๆ ว่า ถึงมือกับแขนจะยังใช้งานได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติ แต่การหยิบจับวัตถุต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยสะดวก
ยิ่งถ้าผู้ป่วยอัมพาต ซึ่งท่อนแขนกระดิกไม่ได้เลย กระดิกได้แต่นิ้ว การใช้ชีวิตประจำวันยิ่งยากขึ้นไปใหญ่
นั่นคือ แรงบันดาลใจให้คูเปอร์ตั้งทีมคิดค้นรถเข็น Personal Mobility and Manipulation Appliance (PerMMA) ขึ้นมา โดยติดตั้งแขนกลหุ่นยนต์เข้ากับรถเข็นทั้งสองข้าง ควบคุมการทำงานผ่านจอยสติ๊ก จอสัมผัส และสั่งด้วยเสียง ตั้งความหวังว่าด้วยแขนไฮเทคนี้ คนอัมพาตจะใช้ชีวิตประจำวันสะดวกขึ้น เช่น สวมเสื้อผ้า ไปซื้อของ ทำอาหาร
ล่าสุด แขนของ PerMMA รับน้ำหนักได้ราว 2.7 ก.ก. แต่ทีมของคูเปอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ถึง 68 ก.ก. ต่อไป
3."กอมปาอี" (Kompai) พยาบาลคนชรา
พัฒนาโดย : โรโบซอฟท์ ฝรั่งเศส
หน้าที่ : ช่วยเตือนให้ผู้สูงอายุทานยาตรงเวลา และโทรศัพท์เรียกขอความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
ปีที่คาดว่าจะใช้งานจริง : พ.ศ.2554
โร โบซอฟท์ออกแบบลักษณะหน้าตา "กอมปาอี" ให้ดูน่ารักเป็นมิตร คอยทำหน้าที่อยู่เคียงข้างคนชราในสังคมปัจจุบันที่ลูกหลานไม่ค่อยมีเวลาให้ ผู้เฒ่าผู้แก่
ระบบควบคุมหลักมีสองส่วน คือ
1. สั่งงานด้วยเสียง
2. สั่งผ่านจอสัมผัส (ทัชสกรีน) ซึ่งเพียงแค่จิ้มไอค่อนคำสั่งที่ต้องการ ระบบในตัวหุ่นรุ่นนี้จะเชื่อมต่อสัญญาณผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปยังโรง พยาบาล หรือสถานีตำรวจในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
นอกจากนั้น "กอมปาอี" ยังมีโปรแกรมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ทำให้คนชราเชื่อมสัญญาณบอกอาการกับแพทย์ได้โดยไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน และยังตั้งโปรแกรมให้เคลื่อนไปเสียบกับปลั๊กไฟได้โดยอันโนมัติ เมื่อกระแสไฟฟ้าใกล้หมด
4."เฮิร์บ" (Herb) พ่อบ้านไร้ชีวิต
พัฒนาโดย : อินเทลแล็บ เมืองพิตสเบิร์ก สหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน
หน้าที่ : พ่อบ้าน
ปีที่คาดว่าจะใช้งานจริง : พ.ศ.2568
นัก วิทยาศาสตร์อินเทล-ม.คาร์เนกี เมลลอน พัฒนา "เฮิร์บ" ต่อยอดมาจากพาหนะสองล้อยุคใหม่ "เซ็กเวย์" ทำให้การเคลื่อนที่มีความสมดุล ล้มยาก
เมื่อประกอบเข้ากับโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหลายลักษณะ ทั้งระบบจดจำใบหน้าและแยกแยะวัตถุ ช่วยให้มันทำงานและเลือกหยิบจับสิ่งของมาบริการเจ้านายได้ดีขึ้น
ผู้ พัฒนากำลังเขียนคำสั่งให้หุ่นตัวนี้แปรสภาพเป็น "พ่อบ้าน" โดยสมบูรณ์ นอกจากจะหยิบอาหาร-เครื่องดื่มจากครัวมาเสิร์จแล้ว
ยังสามารถเอาผ้าไปซักในเครื่องซักผ้า รวมทั้งนำผ้าออกมาตากได้ด้วย
5."เทเมอร์" (Tamer) นักบำบัดคลายความกังวล
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย
หน้าที่ : นักบำบัดเด็ก
ปีที่คาดว่าจะใช้งานจริง : พ.ศ.2557
"หุ่น ยนต์กระต่ายขนฟูติดเซ็นเซอร์รุ่นนี้ จะตอบสนองไวต่อการสัมผัสเป็นพิเศษ เพื่อช่วยบำบัดเด็กๆ ซึ่งป่วยเป็นโรคจิตเวชในกลุ่ม Anxiety Disorder (โรควิตกกังวล) โดยช่วยทำให้เด็กๆ หายเครียด" คารอน แมคลีน นักวิทยาศาสตร์บริติช โคลัมเบีย ในฐานะหัวหน้าทีมพัฒนาเทเมอร์ กล่าว
วิธีใช้งาน แพทย์ต้องนำเซ็นเซอร์มาสวมติดไว้กับตัวคนไข้
ข้อมูลจาก เซ็นเซอร์ดังกล่าว เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและระดับเหงื่อตรงปลายนนิ้ว จะส่งผ่านไปถึงตัวหุ่นยนต์เทเมอร์ พร้อมกับสั่งให้มันแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเพื่อหันเหเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็ก คลายความกังวล
อาทิ กระดิกตัวเล่นด้วย กระดิกหูและคลายหูออก เมื่อระดับความเครียดของเด็กลดลงและหันมาลูบไล้ขนของหุ่นอย่างอ่อนโยน
ขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะรู้ระดับความกังวลของเด็ก ผ่านลักษณะการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ด้วย
6."ไซคล็อปส์" (Cyclops) ดวงตาจำลอง
พัฒนา โดย : สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ
หน้าที่ : ใช้เป็นเครื่องมือทดสอบการตั้งโปรแกรม ช่วยให้คนตาบอดมองเห็นได้อีกครั้ง
ปีที่คาดว่าจะใช้งาน : ภายในปีนี้
"ไซ คล็อปส์" เป็นรถหุ่นยนต์สี่ล้อราคา 7 แสนบาทรุ่นแรกของโลก ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทดลองระบบฝังเรตินาเทียมลงไปบนดวงตา เพื่อให้คนตาบอดสามารถกลับมามองเห็นอีกครั้ง
ข้อดี คือ ช่วยให้นักวิจัยไม่ต้องผ่าตัดทดสอบกับตาจริงๆ ของมนุษย์
โดยกล้องบน ไซคล็อปส์นั้นจะแสดงภาพเหมือนกับที่ตาคนเรามองเห็นจริงๆ
ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผลทดสอบออกมาว่า หุ่นรุ่นนี้แยกแยะความต่างของวัตถุไม่ออก นักวิจัยจะรู้ทันที และค่อยๆ แก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
7. ไรเซอร์ (Riser) นักกายภาพบำบัดคนใหม่
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย
หน้าที่ : นักกายภาพบำบัด
ปีที่คาดว่าจะใช้งาน : พ.ศ.2558
"ไร เซอร์" ถือเป็นระบบทำกายภาพบำบัดหนึ่งเดียวในโลก ที่จำลองสถานการณ์ต่างๆ ที่คนไข้ต้องเผชิญได้หลากหลาย
ต้นกำเนิดการพัฒนา เพื่อให้คนที่เป็นอันพาต หรือกล้ามเนื้อสูญเสียเรี่ยวแรง หลังเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบ สามารถเรียนรู้-ฟื้นฟูทักษะการทรงตัวและเดินเหินให้กลับมาเป็นปกติเร็วขึ้น
โดย หลังจากคนไข้ขึ้นไปยืนบน "ฐานรอง" หรือ "แพล็ตฟอร์ม" คาดสาดรัดเรียบร้อย พร้อมกับสวม "แว่นตาแสดงภาพเสมือนจริง" ระบบจะทำการจำของเหตุการณ์เคลื่อนไหว 6 ทิศทางให้คนไข้ฝึกทรงตัว
เช่น เดินขึ้นเขา เดินขึ้นที่สูง เดินขึ้นลิฟต์ หรือเล่นวินเซิร์ฟ
การฝึกเช่นนี้ช่วยฟื้นฟูสมดุลของร่างกาย ของผู้ป่วยได้ดีขึ้นตามลำดับ
8."เรเวน 2" (Raven 2) หุ่นยนต์นักผ่าตัด
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซางตาครูซ
หน้าที่ : ผู้ช่วยแพทย์ผ่าตัด
ปี ที่คาดว่าจะใช้งาน : พ.ศ.2556
"เรเวน" เป็นชื่อระบบผ่าตัดทางไกลที่ช่วยให้ "ศัลยแพทย์" สองคนทำการผ่าตัดคนไข้บนเตียงโดยไม่ต้องมาอยู่ในห้องผ่าตัด
เช่น หมอใหญ่คนแรกอาจนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และโยกคันบังคับมือกลอยู่ในเมืองเอ ผ่าตัดคนไข้ที่อยู่ในโรงพยาบาลเมืองบี ส่วนหมออีกคนก็นั่งควบคุมแขนผ่าตัดอยู่ในเมืองซี
ล่าสุด เรเวนต่อยอดขึ้นไปอีกขั้น เมื่อเพิ่มแขนกลผ่าตัดเป็น 4 แขน
ขณะนี้อยู่ระหว่างเขียนโปรแกรมให้แพทย์ ควงคุมแขนกลทั้ง 4 ได้อย่างนุ่มนวล และไม่เคลื่อนไหวชนกันเอง
9. "คาร์ดิโออาร์ม" (Cardioarm) ยอดนักวินิจฉัยภายใน
พัฒนาโดย : บ.คาร์ดิโอโรโบติกส์ สหรัฐฯ และม.คาร์เนกี เมลลอน
หน้าที่ : กล้องส่องวินิจฉัยโรคและเก็บข้อมูลอวัยวะภายใน
ปีที่คาดว่าจะใช้งาน : พ.ศ.2555
โฮ วี่ โคเส็ต วิศวกร ม.คาร์เนกี เมลลอน ออกแบบกล้องวิดีโอขนาดจิ๋ว เส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 เซนติเมตร หนักไม่ถึง 3 ออนซ์ ต่อกับสายเคเบิลใช้สอดเข้าไปส่องตรวจความผิดปกติของอวัยวะภายใน
ทั้ง ผ่านทางลำไส้ หลอดลม หรือผ่าตัดเล็กเพื่อสอดกล้องเข้าไปสำรวจอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ
สายเคเบิล นั้นหมุนได้รอบตัว เพราะติดตั้งมอเตอร์ ซึ่งบังคับผ่านจอยสติ๊กอีกชั้นหนึ่ง
10."ไทโซ" (Taizo)
พัฒนาโดย : สถาบันความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสากรรม ประเทศญี่ปุ่น
หน้าที่ : ผู้ฝึกสอนออกกำลังกาย
ปี ที่คาดว่าจะใช้งาน : พ.ศ.2554
ดูจากภายนอก หุ่นยนต์ "ไทโซ" อาจดูเหมือนมนุษย์หิมะ มากกว่าเทรนเนอร์ หรือครูสอนออกกำลังกาย
แต่ ภายในหุ่นยนต์ ความสูง 2 ฟุตตัวนี้ มีข้อต่อเทียมถึง 26 ชิ้น ทำให้มันเคลื่อนไหวคล่องแคล่วถึงขนาดทำท่าทางฝึก "โยคะ" ได้
ข้อดี ของ ไทโซ คือ ทำงานได้อย่างไม่มีวันเหน็ดเหนื่อ เมื่อแบตเตอรี่หมดใน 2 ชั่วโมง ก็ชาร์จไฟใหม่และทำงานต่อได้ทันที
เหมาะสำหรับทำหน้าที่นำคนชรา และเด็กๆ ออกกำลังตามท่ากายบริหาร 30 ท่าที่ตั้งโปรแกรมเอาไว้ อย่างเหมาะสมตามระดับอายุผู้ปฏิบัติตาม และปรับระดับช้า-เร็วได้ด้วย ป้องกันไม่ให้หักโหมจนเกินไป
ข้อมูล : popsci.com
และ : ข่าวสด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น