วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

“หวัด” โรคใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด





ข้อควรรู้เรื่องหวัด หวัด
แพทย์หญิง วราลักษณ์ ตังคณะกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข อธิบายถึงความแตกต่างของโรคไข้หวัดกับโรคภูมิแพ้และโรคหัด ว่า "วิธีสังเกตความต่างก็คือโรคหัดจะมีอาการไข้ หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นตามตัว ส่วนโรคภูมิแพ้จะมีอาการเหมือนไข้หวัด 4 อย่างคือ น้ำมูกไหล ไอ จาม แต่ไม่มีไข้"


จัดอันดับไข้หวัดยอดฮิต
นายแพทย์ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยาอธิบายว่า ไข้หวัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ไข้หวัดธรรมดา (Cold) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza)ซึ่งทั้งสองชนิดมีเชื้อไวรัสตัวการก่อโรคแตกต่างกันไป

ทาง ด้านคุณหมอวราลักษณ์เสริมว่าในโรคไข้หวัดใหญ่ยังมีการจำแนกสายพันธุ์ต้นตอ ที่ต่างกันอีกด้วย และมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

จากการพูดคุยกับคุณหมอทั้งสองสามารถ แบ่งประเภทไข้หวัดตาม ที่มา อาการและความอันตรายของโรคหวัดเป็น 4 ชนิดดังนี้ค่ะ

1. ไข้หวัดธรรมดา (Cold) เกิดจากเชื้อ Rhinovirus และแบคทีเรียบางประเภทที่อาศัยอยู่ในร่างกายคนและมีคนเป็นพาหะ ติดต่อโดยการได้รับเชื้อที่แพร่กระจายจากการหายใจ การไอ หรือสัมผัสเสมหะหรือสารคัดหลั่งต่างๆของผู้ป่วย

อาการ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล อาการป่วยจะหายเองภายใน 3-7 วัน

ความ รุนแรง ปกติอาการจะไม่รุนแรงเพราะร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาปกป้อง ยกเว้นมีการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งส่วนใหญ่เชื้อจะอยู่ที่คอ ทำให้มีอาการเจ็บคอ คอแดง ต่อมทอนซิลโต และแบคทีเรียบางชนิดอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

เมื่อไรต้องพบแพทย์ หากกินยาลดไข้และพักผ่อน 2-3 วันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงขึ้นเช่น ไออย่างรุนแรง เจ็บหน้าอก ซึม เพลีย ให้รีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาอาการแทรกซ้อน

2. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza กลุ่ม A และ B ซึ่งมีความรุนแรงกว่าเชื้อไข้หวัดธรรมดาเพราะเชื้อจะเข้าสู่ระบบกล้ามเนื้อ และอาจลามเข้าไปทำให้เป็นโรคปอดบวม มีการติดต่อเช่นเดียวกันกับไข้หวัดธรรมดา

อาการ มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาแต่จะรุนแรงกว่าและมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดแขนขา ปวดตามข้อ อ่อนเพลียฉับพลัน และปวดศีรษะอย่างรุนแรง

ความรุนแรง ผู้ที่มีอาการรุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยงคือ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายชนิดเช่น อาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดบวม

เมื่อไรต้องพบแพทย์ หากมีไข้สูง หายใจหอบ ผิวมีสีม่วง เจ็บหรือแน่นหน้าอก หรือมีอาการของไข้หวัดใหญ่มานานกว่า 7 วัน ให้สงสัยว่าอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

3. ไข้หวัดนก (avian influenza) เกิดจาก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H5N1 ซึ่งมีอยู่ในลำไส้และระบบทางเดินหายใจของสัตว์ปีก เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายออกมากับอุจจาระ น้ำมูก สิ่งคัดหลั่งอื่นๆของสัตว์ และติดต่อสู่คนจากการได้รับเชื้อโดยการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย และสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของอุจจาระ น้ำมูก และสิ่งคัดหลั่งอื่นๆของสัตว์ปีกเช่นกัน

อาการ มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่แต่จะรุนแรงกว่า เช่น มีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก ไอ เหนื่อย ปวดท้องและถ่ายเหลว

ความรุนแรง มีความรุนแรงมากหากได้รับการรักษาช้า เชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะสำคัญต่างๆเช่นหัวใจ ไต ตับ ไขกระดูก ระบบหายใจและต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อไวรัสสามารถขยายพันธุ์ในปอดและลำไส้ของคนได้ด้วย

เมื่อไรต้องพบแพทย์ หากมีอาการข้างต้นหลังจากสัมผัสสัตว์ปีกหรือเข้าไปในพื้นที่ที่สงสัยว่ามี การระบาดหรือสงสัยว่ากินเนื้อไก่และไข่ไก่ที่ปรุงไม่สุก

4. ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 (swine influenza) เกิด จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น เชื้อชนิดนี้ถือเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด ที่มีการผสมสายพันธุ์ระหว่างไวรัสที่อาศัยอยู่ในคน นก และหมู ทำให้มีการเพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว เพราะคนยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนี้และไม่มีวัคซีนป้องกัน

อาการ อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ แต่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียร่วมด้วย

ความรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 90-95 มีอาการไม่รุนแรงจะหายป่วยได้เอง โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้มีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ ผู้ที่มีภาวะอ้วน และหญิงมีครรภ์

เมื่อไรต้องพบแพทย์ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียน ท้องเสีย มีอาการซึม หรือ ไข้ยังไม่ลดหลังจากรับประทานยาลดไข้แล้ว 48 ชั่วโมงผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากป่วยเป็นไข้ ไม่ว่าจะมีอาการน้อยหรือมากต้องรีบพบแพทย์


จับตากระแส "หวัดระบาด"
ไม่ ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ ล้วนเป็นไข้หวัดที่ยังคงมีแนวโน้มการระบาดเกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่อย่างต่อ เนื่อง ดังที่นายแพทย์ภาสกรกล่าวไว้ว่า

"สำหรับไข้หวัดธรรมดา ย่อมมีการระบาดเรื่อยๆตามฤดูกาลอยู่แล้ว โดยกลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจระบาดได้ในสถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียน แต่สำหรับวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสตัวนี้อยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วง"

"ส่วน ไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ที่มีเชื้อ Influenza virus เป็นตัวก่อโรคก็เช่นกัน ยังคงมีการระบาดตามฤดูกาล และจากสถิติพบว่า คนทั่วไปประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ จะมีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสตัวนี้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่มักเป็นอาการที่กว้าง และป่วยเป็นเวลานาน จนบางคนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ให้อาการหนักลงได้"

"ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรประมาทไข้หวัดสายพันธุ์อื่นๆที่อาจกลับมาระบาดใหม่อีกครั้งพร้อม ทั้งเตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ที่เกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ ที่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อกันง่ายขึ้น เนื่องจากในอนาคตผู้คนจะมาอยู่รวมตัวกันในเมืองใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ จึงเลี่ยงการแพร่เชื้อในที่ชุมนุมชนได้ยาก"


สร้างภูมิชีวิต พิชิตไข้หวัด
สำหรับ ผู้ที่ดูแลตัวเองตามแนวทางชีวจิตซึ่งแทบจะไม่ป่วยเป็นหวัดเลย เพราะมีภูมิชีวิตดี อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูชีวจิต อธิบายว่า

"อาการ ของไข้หวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปวดเมื่อยเนื้อตัว น้ำมูกไหล หรือไอ จะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ Immune System หรือภูมิชีวิตของแต่ละคน ถ้าภูมิชีวิตของคนไข้ตกมาเป็นระยะเวลานาน จนถึงจุดที่ว่าไม่ว่าเชื้อโรคโรคอะไรก็ตามที่ทำให้คนไข้มีอาการติดเชื้อได้ อาการทุกอย่างก็จะโจมตีมาพร้อมๆกัน จนกระทั่งดูเหมือนคนไข้อาการหนัก (Trauma) กำลังถึงแก่ชีวิตได้"

"แต่ถ้าภูมิชีวิตของเขาดีอยู่ การติดเชื้อก็จะมีแค่อาการครั่นเนื้อครั่นตัว และอ่อนเพลียเล็กน้อย ถ้าได้พักสัก 2-3 วัน อาการเจ็บป่วยเขาก็จะหายไป ดังนั้น ถ้าภูมิชีวิตของคุณสมบูรณ์แข็งแรงดี ไม่เพียงแต่ไข้หวัดที่จะหลีกไกลคุณเท่านั้น ภูมิชีวิตนี้ยังป้องกันการติดต่อของโรคติดต่ออื่นๆได้ด้วย"


อาจารย์ สาทิสแนะนำวิธีแก้อาการโรคหวัดแบบชีวจิตว่าให้เพิ่มภูมิชีวิตตามสูตร 5 เล็กอย่างเคร่งครัด คือ กินให้ถูก นอนให้ถูก ทำงานให้ถูก พักผ่อนให้ถูก และออกกำลังกายให้ถูก ทั้งยังบอกวิธีแก้อาการโรคหวัดเบื้องต้นตามตำรับยาพื้นบ้านด้วย
  • กินยอดสดฟ้าทะลายโจรครั้งละหนึ่งยอดก่อนอาหาร 3 มื้อ หรืออย่างเม็ด 3 เม็ดก่อนอาหาร 3 มื้อ
  • กิน วิตามินซี 1,000 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ วิตามินเอ 10,000 I.U ครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ และวิตามินบี คอมเพล็กซ์ 100 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ดก่อนอาหาร 3 มื้อ
  • กิน แคลเซียม 100 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็นหลังอาหาร วิตามินดี 10,000 I.U ครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหารเช้า-เย็น
  • ทำดีท็อกซ์ทุกวัน 2 อาทิตย์
  • ผสม น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะกับน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันจิบตลอดวันแก้ไอ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

+++ Hamster +++

+++ Playlist +++


MusicPlaylistRingtones
Create a playlist at MixPod.com

+++ coming soon +++