ในหนังสือ "ความรู้ 5 นาที" เล่าไว้ว่า การที่มีคนกล่าวว่า แมวมีถึง 9 ชีวิต
นั่นคือการเปรียบเทียบให้เห็นว่า แมวเป็นสัตว์ ที่มีอายุยืนมากนั่นเอง แต่แท้ที่จริงแล้ว
แมวมีอายุ เฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี
อาจมีบ้างบางตัวที่มีอายุยืนถึง 20 ปี หรือกว่านี้เล็กน้อย
เท่าที่ เคยบันทึกกันไว้ แมวตัวที่อายุยืนที่สุดนั้นอายุยืนถึง 27 ปี
ตามธรรมดาเมื่อเราเลี้ยง แมว เรามักเอาปลาคลุกข้าวให้แมวกิน
จึงคิดกันว่าอาหารของแมวคือปลาเท่า นั้น
จริง ๆ แล้วแมวกินอาหารได้ ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเนื้อสด ไข่ต้ม
บางครั้งหิวโซ หาอาหารอื่นกินไม่ได้เลย ข้าวสุกเปล่า ๆ แมวก็กิน
เป็นที่น่าสังเกตุว่า แมวฝรั่งก็กินอาหาร แบบฝรั่งเช่น กินเนย ถั่วลิสง ซุป หรือพิซซ่า นั่นเป็นเพราะการฝึกหัดนั่นเอง
... | เราเคยเชื่อและพบเห็นเสมอว่าแมวจับหนู และเมื่อจะให้มันจับหนู ก็ต้องให้มันอดอาหารก่อน ถ้าให้มันกินอิ่มเสียแล้ว มันจะไม่ยอมจับหนู ความเชื่อเช่นนี้นักเลี้ยง แมวชาวอเมริกันว่า ไม่จริงแต่อย่างใด แมวมีธรรมชาติของการจับหนูเหมือน กับนิสัยความขยันขันแข็ง ของคน เช่นกัน |
และมีหนูวิ่งผ่านหน้ามัน มันยังไม่ยอมตะครุบ
ดี ไม่ดีแมวบางตัวพอเห็นหนูตัวโต ๆ เข้าถึงกับวิ่งหนีหนูก็มี
แต่แมวบาง ตัวก็มีนิสัยชอบจับหนู
ต่อให้เลี้ยงอย่างดีวิเศษกินอิ่มนอนหลับแค่ไหน
มัน ก็ต้องเที่ยวตะปบนก หนู จิ้งจก ตุ๊กแก ที่เกะกะลูกตาให้หมดไปจนได้
ถึง ไม่กินก็ฆ่าเล่น เนื่องจากสัญชาตญาณป่าที่ยังคงเหลืออยู่นั่นเอง
แมว มีนัยน์ตามที่มองเห็นได้ดีในที่ที่มีแสงสว่างน้อย
อุ้งเท้าของแมวนุ่ม จึงเดินได้แผ่วเบา
จนเราเอามาใช้เป็นสำนวนเรียกนักย่องเบางัดแงะ ว่า "ไอ้ตีนแมว"
แมวเป็นสัตว์รักสวยรักงาม มันจะใช้ลิ้นเลียไปตามส่วนต่าง ๆ ของลำตัว
การเลียนอกจากจะเป็นการทำ ความสะอาดแล้ว
ยังเป็นเครื่องหมายแสดงความรักใคร่ด้วย
ถ้าแมว "ปิ๊ง" กันก็จะเลียให้กันและกัน
มีอีกเรื่องราวหนึ่งที่อาจเป็นที่มา ของคำว่า "แมว 9 ชีวิต"
ก็คือ ในปลายสมัยกลาง ในยุโรป
โรคกลัวแม่มดระบาดไปทั่ว
และเชื่อกันว่า แมวดำ คือแม่มดที่แปลงตัวมา
จึงมีความพยายามทำลายล้างแมว
โดยเฉพาะแมว ที่มีขนสีดำให้สูญพันธ์
ที่ฝรั่งเศสแต่ละเดือนแมวหลายพันตัวถูกเผา
จน ทศวรรษที 1630-1639
พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 จึงทรงสั่งให้หยุดการกระทำที่ทารุณโหดร้ายนี้
.... | แม้แมวดำจะถูกฆ่าทิ้งไป เป็นจำนวนมากทั่วยุโรปในเวลาหลายร้อย ปี แต่น่าแปลกที่พันธุกรรมของแมวขนสีดำ ไม่เคยถูกลบเลือน ไปจาก เผ่าพันธุ์ของมัน |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น